Chulalongkorn University

ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Center for Russian Studies of Chulalongkorn University

รวมลิงค์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความเป็นมาของศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

                 ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 708 วันที่ 25 ธันวาคม 2551  และมีพิธีเปิดศูนย์ฯอย่างเป็นทางการวันที่ 26 มีนาคม 2552 ในวันครบรอบ 92 ปีของการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในวาระครบรอบ 112 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทาง การทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซีย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา เปิดและทรงเจิมป้ายศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ในการนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัย เอกอัครราชทูตรัสเซีย และคณะนักการทูต ผู้บริหารสภาธุรกิจไทย-รัสเซียและผู้บริหารหอการค้าไทย-รัสเซียให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว                                                                         
 

 

 

 

 

 

 


 

                ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านบุคลากรและข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับรัสเซียของประเทศ เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจที่มีความสำคัญและโดดเด่นของโลก ในอดีตรัสเซียมีบทบาทที่สำคัญต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลกหลายประการ นับตั้งแต่การเป็นแม่แบบของระบอบการปกครอง แบบสังคมนิยม เกิดการแบ่งขั้วอำนาจของโลก สงครามเย็น การแข่งขันในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอวกาศ   นอกจากนั้นยังเป็น 1ใน 5 ผู้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ  และปัจจุบันเป็น มาชิกถาวรในสภาความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ

ในทางเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รัสเซียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก มีปริมาณเงินตราต่างประเทศและทองคำสำรองสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก จากข้อได้เปรียบของการเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีเขตแดนทั้งทางบกและทางน้ำติดกับ 16 ประเทศ และในแผ่นดิน ที่กว้างใหญ่นั้นยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมและแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก ส่งผลให้รัสเซีย ในปัจจุบันเป็นตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงและสำคัญที่สุดตลาดหนึ่งของโลก

ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศไทยนั้น ในอดีตรัสเซียได้มีส่วนช่วยให้ไทยได้รอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของตะวันตก ช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันรัสเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในภูมิภาคยุโรปตะวันออก และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของรัสเซียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นโดยตลอด

                 ถึงแม้ประเทศไทยและประเทศรัสเซียจะมีความสัมพันธ์กันมายาวนานถึง 112 ปีแล้วก็ตาม แต่ความสัมพันธ ์ก็ยังไม่แน่นแฟ้นและหลากหลายเท่าที่ควร สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือการขาดแคลนบุคลากรที่จะเป็นเฟืองจักร สำคัญในการประสานและดำเนินความสัมพันธ์ เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมรัสเซียมีเอกลักษณ์ที่ต้องศึกษาโดยเฉพาะจึง จะดำเนินความสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิผล  ในขณะที่ชาวไทยก็ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการศึกษาเกี่ยวกับรัสเซีย รัฐบาลไทยก็ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับรัสเซียทำให้ขาดแคลนข้อมูลในการตัดสินใจและดำเนินนโยบายเกี่ยวกับรัสเซีย

                 จากความสำคัญของรัสเซียที่มีต่อโลกและต่อประเทศไทยและปัญหาของประเทศไทยดังกล่าวและด้วยศักยภาพของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการและมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ อีกทั้งยังมีหลักสูตรเกี่ยวกับอาณาบริเวณศึกษาที่หลากหลาย เช่น ยุโรปศึกษา เอเชียศึกษา เป็นต้น ดังนั้นสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้เห็นชอบ  ให้มีการเปิดศูนย์ รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่อไปนี้                

                 1.จัดการศึกษา

                 2.อบรม ประชุม  สัมมนา

                 3.ให้การปรึกษา

                 4.ประสานงาน

                 5.ศูนย์ข้อมูล

                 6.เผยแพร่ข้อมูล

                 รายละเอียดของกิจกรรมของศูนย์ฯสามารถเข้าไปดูได้จากเมนูในหน้าหลัก