วารสารรัสเซียศึกษา

 160747
  วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1-2 (2553)

160842.

วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 2 ฉบับที่ 1-2 (2554) ตอนที่ 1
วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 2 ฉบับที่ 1-2 (2554) ตอนที่ 2
160001. วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 3 ฉบับที่ 1 (2555)
 
.
วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2555)
8-1-2557 14-26-21 วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 4 ฉบับที่ 1-2 (2556)
   วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 5 ฉบับที่ 1 (2557)
 
 วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 5 ฉบับที่ 2 (2557)

5rr811070
วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 6 ฉบับที่ 1 (2558)
 ru59  วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 6 ฉบับที่ 2 (2558)
วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 7 ฉบับที่ 1 (พิเศษ)
วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 7 ฉบับที่ 2 (2559)
 173  วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 8 ฉบับที่ 1 2560
 130  วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี่ที่ 8 ฉบับที่ 2 (2560)
130  วารสารรัสเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วลาดีมิร์ ปูติน: ความรับผิดชอบร่วมกันต่อประวัติศาสตร์ และอนาคต
บทเรียนจริงจากวันครบรอบ 75 ปี การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา

(นานาชาติ/สหสาขาวิชา)

Master of Arts  in Russian Studies

                      (ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 ภาคการศึกษาและที่ Diplomatic Academy  Moscow State University,
St. Petersburg State University,
Moscow State Institute of International Relation ประเทศรัสเซีย  1 ภาคการศึกษา)

           
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            1.  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วัฒนธรรม ธุรกิจและอุตสาหกรรม
                 ของสหพันธรัฐรัสเซีย และสามารถฟังพูดอ่านเขียนภาษารัสเซียได้ดี
            2.  เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านรัสเซียศึกษา ในบริบทที่เชื่อมโยงกับประเทศสำคัญในภูมิภาคยูเรเชีย  และองค์กรระหว่างประเทศ
                 ในภูมิภาค

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

            1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
            2. ผู้เข้าศึกษาในแผน ข จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
            3. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศ  ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป

ระยะเวลาการศึกษา

              ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

ผู้อำนวยการหลักสูตร

              อาจารย์ ดร.รมย์ ภิรมนตรี       B.A., M.A. Russian Language and Literature (Leningrad State U., USSR)
                                                        Ph.D. Russian Studies (Moscow State U., Russian Federation)

จำนวนที่รับเข้านักศึกษา 30 คน

            แผน ก  (ทำวิทยานิพนธ์)         15 คน
            แผน ข  (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)     15 คน

                                                                    รายละเอียดหลักสูตร อ่านรายละเอียดหลักสูตร

                                                                    กำหนดเปิดรับสมัครเข้าศึกษา อ่านรายละเอียด

ข่าวสารจากศูนย์

      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันครบรอบวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 26 มีนาคม 2552

                          p5 p6

เมื่อวันพุธที่ 16 กันยายน 2552 ได้มีการสรุปข้อหารือการจัดตั้งศูนย์ “รุสกีมีร์” ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    
ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมูลนิธิรุสกีมีร์ (Russkiy Mir Foundation) ณ ศูนย์วิทยทรัพยากร มี Professor Georgy Toloraya
เป็นตัวแทนฝ่ายรัสเซียเข้าพบศาสตราจารย์   นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล           อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   โดยศูนย์ “รุสกีมีร์”
(Russkiy Mir)จะมีหน้าที่คอยให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานการศึกษาและองค์กร     ทางสังคมอีกทั้งให้ความช่วยเหลือด้าน
การใช้สื่อการสอนภาษารัสเซียสมัยใหม่แก่นักศึกษาและนักเรียน ตลอดจนให้คำปรึกษาเรื่องทุนต่างๆ ของมูลนิธิฯ แก่องค์กรและหน่วยงาน
ที่สนใจ

 

     เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ H.E. Mr. Sergey V. Lavrov  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธรัฐรัสเซียได้มาเยือน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง  “ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียและนโยบายของรัสเซีย  ต่อกลุ่มประเทศเอเชีย
-แปซิฟิก”
ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ท่านรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซียที่มีมายาวนาน ปัจจุบันรัสเซียถือ
ว่าประเทศไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของรัสเซีย นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมมาเที่ยวเมืองไทย และชื่นชมจุฬาฯที่ส่งเสริมการสอน
ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์รัสเซีย  โดยเปิดศูนย์รัสเซียศึกษาขึ้น  ในจุฬาฯ ทางการรัสเซีย  จะให้ทุนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและให้การสนับสนุนช่วยเหลือต่างๆ คลิกเพื่อดูภาพ
     p2p3

พิธีลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย

เมื่อวันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2552 ณ ห้องรับรอง อาคารจามจุรี 4 อาจารย์ ดร.รมย์ ภิรมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย   รองศาสตราจารย์ ดร.พจี ยุวชิต  รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ  นำคุณมังกร ธนสารศิลป์  ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย  เข้าพบ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหา-
วิทยาลัยกับสภาธุรกิจ ไทย-รัสเซีย สาระสำคัญของสัญญาคือร่วมกันสนับสนุนและผลักดันการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรใน ภาคธุรกิจ
ภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ให้มีความรู้เชิงลึกในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภาษาที่เกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐ
รัสเซีย และประเทศในเครือรัฐเอกราช หรือที่เรียกว่า CIS โดยจะประสานการดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกัน มีกรรมการจากสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย,
อุปทูต Mr. Mikhail V. Baranov และทูตพาณิชย์     Mr. Dmitry A. Smakhtinร่วมป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วย

DSC 0070

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงข่าวความร่วมมือทวิภาคีกับรัสเซียฉลองครบรอบ 112 ปีความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย

               เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12มีนาคม 2552 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงข่าวความร่วมมือทวิภาคีระหว่างจุฬาฯ กับองค์กรและสถาบันต่างๆ
ใน  สหพันธรัฐรัสเซียเนื่องในวาระครบรอบ  112  ปี     แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างราชอาณา  จักรสยาม
และ จักรวรรดิรัสเซีย โดยเริ่มด้วยการจัดตั้ง “ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์”    เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์กับองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนของไทย และรัสเซียตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสหพันธ
รัฐรัสเซียสู่สาธารณะทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

                                            

งานเผยแพร่ข้อมูล

1.ศิลปะและวัฒนธรรมรัสเซีย
1.1 Илья Репин
1.2 Виктор Васнецов
1.3 รู้จักคนรัสเซีย

2.เศรษฐกิจรัสเซีย
3.การเมืองรัสเซีย
4.ความมั่นคง

4.1 เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่ดีที่สุด   
4.2 เฮลิคอปเตอร์ Ka29
4.3 เรือ 1124

   
© ALLROUNDER